วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การดูแลผู้ป่วยกระเพาะอาการทะลุ

กระเพาะอาหารทะลุ หมายถึง ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่สุดของผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรับการผ่าตัดฉุกเฉิน เพราะการรักษาช้าอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การไหลเวียนและทำงานของอวัยวะล้มเหลว ซึ่งทำใหผู้ป่วยเสียชีวิตได้

วิธีปฏิบัติ
1. การประเมิน
1.1 การประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ ตามแบบประเมินสมรรถนะแรกรับของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสกลนคร

1.2 ซักประวัติ ผู้ป่วยอาจมีประวัติปวดกระเพาะเป็นๆหายๆเรื้อรัง มีปัจจัยส่งเสริม เช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาหารรสจัด ความเครียด รับประทานยาแก้ปวด ยาชุด และการใช้สารเสพติดต่างๆ
1.3 การตรวจร่างกาย เช่น มีอาการกดเจ็บ (tenderness) ,กดปล่อยแล้วเจ็บ(rebound tenderness) และท้องแข็ง(guarding)บริเวณใต้ลิ้นปี่

1.4 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1.5 การตรวจทางรังสี มีลมรั่วในช่องท้อง(Free air)บริเวณใต้กระบังลมด้านขวา



2. การสร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ



  1. ปฏิบัติตามแนวทางการรับใหม่ผู้ป่วย ตามแนวทางปฏิบัติของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร


  2. ให้ข้อมูล เหตุผลการเข้ารับการรักษา โดยอธิบายเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องนอนโรงพยาบาล


  3. ปฐมนิเทศการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แนะนำสถานที่/ระเบียบของหน่วยงาน/แนะนำผู้ป่วยข้างเตียง/การเตรียมของใช้ที่จำเป็น สิทธิการรักษา


  4. การลงนามยินยอมรับการรักษา


  5. ชั่งน้ำหนัก/วัดสัญญาณชีพแรกรับ เพื่อประเมินอาการผู้ป่วยและวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย



การพยาบาลผู้ป่วยกระเพาะอาหารทะลุ


ระยะก่อนผ่าตัด


  1. ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดท้อง


  2. เสียงต่อการติดเชื้อในช่องท้อง


  3. เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลย์ของสารน้ำและอิเล็คโตรลัยด์ในร่างกาย

  4. ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด


    ระยะหลังผ่าตัด
1.มีโอกาศเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ระยะแรก

1.1 การเปลี่ยนแปลงการหายใจ

1.2 เลือดออก

1.3เกิดรอยรั่วบริเวณที่ทำการผ่าตัด

2.ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด

3.ไม่สุขสบายเนื่องจากภาวะท้องอืด แน่นท้อง

4.เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อที่แผลผ่าตัด

5.เสี่ยงต่อภวาะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การอุดตัน ท้องเสีย

6.อาจเกิดเป็นซ้ำเนื่องจากขาดความรู้ในการปฎิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน



การปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1. การรับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์
2. การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ไม่ควรรับประทานอาหารครั้งละมากๆ และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อส่งเสริมการหายของแผล
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของเยื่อบุทางเดินอาหาร เช่นยาต้มยาหม้อ ยาชุด ยาแก้ปวด เป็นต้น
4. ส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่และการดื่มสุรา เพราะจะทำให้แผลหายช้า และทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ
5. งดการดื่มน้ำอัดลม หรือ ชา กาแฟ เพราะจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น
6.ทำแผลผ่าตัดทุกวัน เมื่อครบ 7 วัน ตัดไหมที่สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลใกล้บ้าน
7.สังเกตอาการผิดปกติ เช่น
- การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด จะมีอาการไข้ แผลผ่าตัดบวมแดง มีหนองซึม
- อาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ จุกเสียดแน่นท้อง อาเจียนเป็นเลือด รับประทานอาหารไม่ได้หากมีอาการ ดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์ทันที
8.การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
9.พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ ลดภาวะเครียดและความวิตกกังวลต่างๆ
10.การมาตรวจตามแพทย์นัด ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์จะนัดกลับมาพบประมาณ 1 เดือน



วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มาป้องกันโรคกระเพาะอาหารทะลุกันเถอะ



โรคกระเพาะอาหารทะลุ
กระเพาะทะลุมักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ผู้ป่วยมักมีประวัติปวดท้องแบบโรคกระเพาะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือมีประวัติชอบกินยาแก้ปวดหัว ปวดหลัง ปวดข้อ (เช่น ยาแก้ปวดที่เข้าแอสไพริน, ยาชุด) ดื่มเหล้า เป็นประจำผู้ป่วยจะมีแผลที่กระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่ค่อย ๆ กินลึกจนทะลุเป็นรู แล้วกลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และโลหิตเป็นพิษ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้





อาการ

  1. ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเสียดแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดและรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปวดมาก่อน และปวดติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง ๆ (มักเป็นนานเกิน 6 ชั่วโมง) กินยา ฉีดยาอะไรก็ไม่ได้ผล อาการปวดท้องมักลุกลามไปทั่วท้องอย่างรวดเร็ว และอาจรู้สึกปวดร้าวไปที่หัวไหล่ข้างเดียวหรือสองข้าง ผู้ป่วยมักจะนอนนิ่ง ๆ เพราะหากขยับเขยื้อนจะรู้สึกปวดมากขึ้น
  2. บางคนอาจมีการคลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม มีภาวะขาดน้ำและช็อคได้

การตรวจร่างกาย

สิ่งตรวจพบมีอาการกดเจ็บ (tenderness), กดปล่อยแล้วกดเจ็บ (rebound tenderness) และท้องแข็ง (guarding) ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ ใช้เครื่องฟังตรวจที่หน้าท้อง จะได้ยินเสียงโครกครากลดน้อยกว่าปกติ หรือแทบไม่ได้ยินเลย ชีพจรมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที บางคนอาจมีอาการช็อก หรือกระสับกระส่ายเหงื่อออก ตัวเย็น ความดันเลือดตกบางคนมีไข้ขึ้น


การรักษาหากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลด่วนในรายที่อาการไม่ชัดเจน ถ้าปวดจากอาการกระเพาะเกร็งเมื่อได้รับลดปวดมักจะหายปวดได้ แต่ถ้าไม่หายปวดใน 15-30 นาที ก็น่าจะสงสัยว่าเป็นกระเพาะทะลุ ระหว่างส่งโรงพยาบาลควรให้งดน้ำและอาหารเพื่อเตรียมผ่าตัด มักจะตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์ ถ้าเป็นจริงต้องผ่าตัดทุกราย

หลักการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคกระเพาะอาหารทะลุ

  • กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
  • กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
  • กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา
  • งดสูบบุหรี่
  • งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
  • ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
  • กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
  • ถ้ามีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ต้องรีบไปพบแพทย์