วิธีปฏิบัติ
1. การประเมิน
1.1 การประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ ตามแบบประเมินสมรรถนะแรกรับของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสกลนคร
1.2 ซักประวัติ ผู้ป่วยอาจมีประวัติปวดกระเพาะเป็นๆหายๆเรื้อรัง มีปัจจัยส่งเสริม เช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาหารรสจัด ความเครียด รับประทานยาแก้ปวด ยาชุด และการใช้สารเสพติดต่างๆ
1.3 การตรวจร่างกาย เช่น มีอาการกดเจ็บ (tenderness) ,กดปล่อยแล้วเจ็บ(rebound tenderness) และท้องแข็ง(guarding)บริเวณใต้ลิ้นปี่
1.5 การตรวจทางรังสี มีลมรั่วในช่องท้อง(Free air)บริเวณใต้กระบังลมด้านขวา
2. การสร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ
- ปฏิบัติตามแนวทางการรับใหม่ผู้ป่วย ตามแนวทางปฏิบัติของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร
- ให้ข้อมูล เหตุผลการเข้ารับการรักษา โดยอธิบายเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องนอนโรงพยาบาล
- ปฐมนิเทศการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แนะนำสถานที่/ระเบียบของหน่วยงาน/แนะนำผู้ป่วยข้างเตียง/การเตรียมของใช้ที่จำเป็น สิทธิการรักษา
- การลงนามยินยอมรับการรักษา
- ชั่งน้ำหนัก/วัดสัญญาณชีพแรกรับ เพื่อประเมินอาการผู้ป่วยและวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย
การพยาบาลผู้ป่วยกระเพาะอาหารทะลุ
ระยะก่อนผ่าตัด
- ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดท้อง
- เสียงต่อการติดเชื้อในช่องท้อง
- เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลย์ของสารน้ำและอิเล็คโตรลัยด์ในร่างกาย
- ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด
ระยะหลังผ่าตัด
1.1 การเปลี่ยนแปลงการหายใจ
1.2 เลือดออก
1.3เกิดรอยรั่วบริเวณที่ทำการผ่าตัด
2.ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด
3.ไม่สุขสบายเนื่องจากภาวะท้องอืด แน่นท้อง
4.เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
5.เสี่ยงต่อภวาะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การอุดตัน ท้องเสีย
6.อาจเกิดเป็นซ้ำเนื่องจากขาดความรู้ในการปฎิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
การปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1. การรับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์
2. การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ไม่ควรรับประทานอาหารครั้งละมากๆ และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อส่งเสริมการหายของแผล
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของเยื่อบุทางเดินอาหาร เช่นยาต้มยาหม้อ ยาชุด ยาแก้ปวด เป็นต้น
4. ส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่และการดื่มสุรา เพราะจะทำให้แผลหายช้า และทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ
5. งดการดื่มน้ำอัดลม หรือ ชา กาแฟ เพราะจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น
6.ทำแผลผ่าตัดทุกวัน เมื่อครบ 7 วัน ตัดไหมที่สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลใกล้บ้าน
7.สังเกตอาการผิดปกติ เช่น
- การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด จะมีอาการไข้ แผลผ่าตัดบวมแดง มีหนองซึม
- อาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ จุกเสียดแน่นท้อง อาเจียนเป็นเลือด รับประทานอาหารไม่ได้หากมีอาการ ดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์ทันที
8.การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
9.พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ ลดภาวะเครียดและความวิตกกังวลต่างๆ
10.การมาตรวจตามแพทย์นัด ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์จะนัดกลับมาพบประมาณ 1 เดือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น